วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาตราฐานเครือข่ายไร้สาย


ความหมายของ ISP
ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า  ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต”   ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น
2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย
โมเด็ม (Modems)
 เป็นอุปกรณ์สำหรับ คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัส กับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย  โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของ คุณสามารถสื่อสาร กับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก  โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่ง  โมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จาก  เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals)  เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
 คำว่า โมเด็ม(Modems)  มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง  กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสาร  ดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอล  อีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับ  โมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
 โมเด็มแต่ละ ประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
 1. ความเร็วในการรับ -  ส่งสัญญาณ
           ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง  อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูล  กับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps)  ในการบอกถึงความเร็วของ โมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ  มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า  โมเด็มขนาด 56 K
 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
     ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบน  โมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัด ข้อมูล   (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ  เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
 3.  ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
    โมเด็ม รุ่นใหม่ๆ  สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ -  ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แว ร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์  โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่  แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยัง เครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
 4.  ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
    โมเด็ม  จะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ   มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆ  สูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์  เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
 5.  ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
    โมเด็ม  ที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก  (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
 6.  ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
    โมเด็ม  บางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อม กับความสามารถในการรับ -  ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
 ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
          เราสามารถใช้ โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่
             1.  พบปะพูดคุย
             2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
             3.  ท่องไปบน อินเทอร์เน็ต
             4. เข้าถึงบริการออ นไลน์ได้
              5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์ แวร์ได้
              6. ส่ง - รับโทรสาร
             7. ตอบรับโทรศัพท์
 การเลือกซื้อ  โมเด็ม
         สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อ โมเด็มมาใช้งาน เช่น
              1. เข้ากันได้ กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
             2.  เข้ากันได้ กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
             3.  ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
             4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
              5. การบีบอัดข้อมูล
             6.  ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
             7. รับ - ส่งโทรสารได้
              8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
 สิ่งที่ต้องใช้ร่วม กับโมเด็ม
          การที่สามารถใช้  โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้ พร้อมหรือไม่
             1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
             2.  พอร์ทอนุกรม (serial port)
             3. fast UART  เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
                 เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ ทอนุกรม
             4.  serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับ พอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
                 (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
              5. expansion slot ถ้า โมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี  expansion slot ใช้งาน
                โดยจะต้องถอดฝาครอบตัว  เครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
1.              Fiber Optic คืออะไร
Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป (CAT5, CAT5e, CAT6, CAT7 เป็นต้น)?Fiber Optic เรียกเป็นภาษาไทยว่า "เส้นใยแก้วนำแสง"
คุณสมบัติของ Fiber Optic
·         Fiber Optic ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก
·         มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา
·         รับส่งสัญญาณได้ระยะไกลมากเป็นกิโลเมตร
·         ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ
·         ราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายแลนประเภท CAT5
Fiber Optic แบ่งออกได้ 2 ประเภท
·         เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM)
·         เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)
การนำไปใช้งานของ Fiber Optic
·         ตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone (สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก)
·         ระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ
·         การเชื่อมต่อสัญญาณระยะไกล
·         และอื่นๆ อีกมากมาย

2.             Unshielded Twisted Pair (UTP) หรือที่เรียกว่า "สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่หุ้มฉนวน"
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น ทำให้สะดวก ในการโค้งงอ สาย UTP เป็นสายที่มีราคาถูกและ หาง่าย
แต่ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ไม่ดีเท่ากับสาย STP


3.             Coaxial หรือ สาย Coax นอกจากใช้ในระบบ Network แล้วยังสามารถ นำไปใช้
กับระบบ TV และ Mainframe ได้ด้วย สาย Coax นั้นเป็นสายที่ประกอบไปด้วย แกนของ ทองแดงหุ้มด้วยฉนวน และสายดิน
(ลักษณะเป็นฝอย) หุ้มด้วยฉนวนบางอีกชั้นหนึ่ง ในปัจจุบันได้ เปลี่ยนจากลวดทองแดงมาเป็นลวดเงินที่พันกันหลาย ๆ เส้นแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรบกวน ที่เรียกว่า "Cross Talk" ซึ่งเป็นการรบกวนที่เกิดจากสายสัญญาณข้างเคียง ดังตัวอย่าง

เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง
ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นมาตรฐานของโมเด็มเทคโนโลยีใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และด้วยความเร็วขนาดนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่าง ๆ เช่น

งานเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การให้บริการแพร่ภาพ Video On Demand
ระบบเครือข่าย LAN
การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน(Telecommuting)
ADSL
มีโครงสร้างของระบบสื่อสารข้อมูลเป็นแบบไม่สมมาตร (Asymmetric) ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่ส่งมาจาก ISP ไปยังผู้ใช้บริการจะมีความเร็วที่มากกว่า ข้อมูลที่ส่งขึ้นไปจากผู้ใช้บริการไปยัง ISP ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบผู้ใช้งานตามบ้านส่วนใหญ่มักจะเป็นการ Download ข้อมูลเสียมากกว่าการ Upload ข้อมูล การทำงานของ Modem ADSL จะใช้การแบ่งช่องสัญญาณออกเป็น 3 ช่อง คือ ระบบโทรศัพท์เดิม, ช่องสัญญาณ ADSL upstream และช่องสัญญาณ Downstream เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า FDM(Frequency Division Multiplexing) โดยการจัดสรรแถบความถี่สำหรับย่านความถี่ขนาดไม่เกิน 4 KHz ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น Voice กับ Fax ส่วนย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ จะถูกสำรองจองไว้ให้การรับส่งข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น หลายย่านความถี่ ดังเช่นช่องสัญญาณทั้งสาม ดังรูปข้างล่างนี้ โดย Downstream จะมี Bandwidth มากที่สุด

รูป แสดงการแบ่งย่านความถี่ สำหรับModem ADSL ที่ใช้เทคโนโลยี FDM และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงสามารถส่งข้อมูลสื่อสารระหว่าง Modem ในระบบ ADSL ไปมาอยู่บนคู่สายทองแดงตีเกลียวคู่เดิม และสามารถจะคุยโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กันไปด้วย และ Bandwidth ที่ใช้งานได้ในระบบ ADSL ที่ขยายได้ไปจนถึงเกือบ 1 MHz นั้น เป็นเพราะในระบบ Modem ADSL นั้นไม่ได้ใช้ตัวกรองแบบที่ใช้ในระบบชุมสายแบบเก่า และการลดระดับสัญญาณรบกวนจากการควอนไตซ์เซชั่น ของตัวแปลง A/D นอกจากนี้ ในแต่ละช่องสัญญาณยังสามารถแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณย่อย ๆ ที่ความเร็วต่ำ เรียกว่า Sub-Multiplex ได้อีกหลายช่อง อย่างไรก็ดี งานที่ต้องใช้บริการ ADSL ส่วนใหญ่จะเป็นพวก Compressed Digital Video เนื่องจากเป็นสัญญาณประเภททำงานแบบ Real-Time ด้วยเหตุนี้ สัญญาณ Digital Video เหล่านี้ จึงไม่สามารถใช้ระบบควบคุมความผิดพลาด แบบที่มีอยู่ในระดับของเครือข่ายทั่วไป ดังนั้น ADSL Modem จึงมีระบบ ที่เรียกว่า Forward Error Correction ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นโดยสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นมาก การกำหนดให้มีการตรวจสอบสัญลักษณ์ทีละตัว การทำเช่นนี้ก็ยังช่วยลดปัญหาการควบของสัญญาณรบกวนในสาย
ADSL
ทำงานอย่างไร? การทำงานของ ADSL Modem จะเกิดขึ้นระหว่างชุมสายโทรศัพท์ โดยผู้ให้บริการจะต้องติดตั้งอุปกรณ์รวมสัญญาณเรียกว่า DSLAM (DSL Access Multiplexer) ในทุก ๆ ชุมสายที่ให้บริการ ซึ่งจะทำหน้าที่รวมสัญญาณจากผู้ใช้งาน ในชุมสายโทรศัพท์นั้น ๆ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งผ่าน เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง ไปยังศูนย์กลางของผู้ให้บริการ และจากนั้นผู้ให้บริการ ADSL ก็จะเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ISP หรือเครือข่ายขององค์กร อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ ADSL สามารถส่งข้อมูลไปได้พร้อม ๆ กับการใช้งานโทรศัพท์ก็คือ Pots Splitter โดยมันจะมีหน้าที่ในการกรองสัญญาณที่มีความถี่สูงออกจากสัญญาณย่านที่มีความถี่ต่ำ โดยถูกติดตั้งอยู่ทั้งที่ผู้ใช้งาน และที่ชุมสายโทรศัพท์ นั่นคือหากมีการใช้งานโทรศัพท์ สัญญาณโทรศัพท์จะถูกส่งผ่านสายทองแดง ไปยังชุมสายโทรศัพท์ และสัญญาณโทรศัพท์ จะถูกส่งผ่านไปยังเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ(PSTN :Public switch telephone network) เพื่อเชื่อมต่อไปยังเลขหมายปลายทางต่อไป ส่วนสัญญาณข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ DSLAMการที่ ADSL สามารถส่งข้อมูลพร้อมกับการใช้งานโทรศัพท์ได้นั้น เนื่องจาก ADSL ใช้ เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ (Modulation) บนย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ซึ่งปกติการใช้งานโทรศัพท์จะใช้ย่านความถี่ที่ 0 - 4 KHz และการใช้งาน 56K Analog Modem ก็ทำการเข้ารหัสสัญญาณบนย่านความถี่นี้เช่นกัน ซึ่งเป็นย่านเดียวกับการใช้งานโทรศัพท์ ทำให้เมื่อใช้งานโมเด็มจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ ในขณะที่ ADSL จะเข้ารหัสสัญญาณที่ย่านความถี่สูงกว่า 4 KHz ขึ้นไป คือตั้งแต่ 30 KHz ไปจนถึง 1.1 MHz โดย ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ 2 วิธีคือ CAP และ DMT ซึ่งด้วยเทคนิคนี้เองทำให้ การรับ-ส่งข้อมูลด้วย ADSL จึงสามารถใช้โทรศัพท์ได้เป็นปกติ โดยไม่รบกวนกันแต่อย่างใด โดยมีอุปกรณ์ Pots Splitter ที่ช่วยในการแยกย่านความถี่ของข้อมูลและความถี่ในการใช้โทรศัพท์ออกจากกัน

มาตรฐานการทำงานของ ADSL
ADSL กับมาตรฐานการทำงาน
ได้มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานของ ADSL ใน ระดับปฏิบัติการเชิง Physical Layer โดย ANSI(American Nation Standard Institute) ได้กำหนดมาตรฐานของ ADSL ขึ้นมาเรียกว่า T.413-1995 ซึ่งระบุว่า อุปกรณ์ ADSL สามารถสื่อสารกันบนเครือข่ายแบบ Analog Loop ได้ ผลิตภัณฑ์ ADSL ได้ถูกผลิตขึ้นให้ใช้วิธีการของ Line Coding (การเข้ารหัสเพื่อการส่งสัญญาณในสาย) ซึ่ง วิธีการนี้มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ CAP (Carrier Amplitude/Phase Modulation) QAM (Quadrature Amplitude Modulation) และเทคโนโลยี DMT (Discrete Multitone) ไม่ว่าระบบ Line Coding จะเป็นเช่นใด ไม่ว่าสายสัญญาณทั้งสองเส้นจะถูกนำมาใช้เพื่อการรับส่งข้อมูลแบบ Full Duplex ก็ตาม หรือพิสัยของคลื่นความถี่จะถูกแบ่ง Upstream หรือ Downstream Bandwidth(ระบบFDM) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะต้องใช้ Echo Cancellation (เป็นการขจัดความเป็นไปได้ของสัญญาณในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่เป็นสัญญาณของผู้พูด จะเกิดการสะท้อนกลับมาที่ผู้พูดเอง เหมือนท่านที่พูดโทรศัพท์มือถือ จะได้ยินเสียงพูดของตนเอง) ก็ตาม ภายใต้เครือข่าย ADSL นี้ระบบ FDM กับ Echo Cancellation สามารถทำงานร่วมกันแบบผสมผสานกันได้ ในหลายกรณี มาตรฐาน ANSI ภายใต้เอกสาร T.413 ได้กำหนดให้ ADSL ใช้ Line Coding แบบเทคโนโลยี DMT และมีการเลือกใช้ FDM หรือ Echo Cancellation อย่างใดอย่างหนึ่งแทนที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อที่ให้ได้การทำงานแบบ Full Duplex
SDSL( Symmetric Digital Subscriber Line )
เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงเหมือนกับ ADSL แต่ต่างกันที่ความเร็วในการรับ-ส่งเท่ากัน ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม การใช้งานเทคโนโลยีนี้จะไม่สามารถใช้งานเสียงพร้อม ๆ ไปกับการรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เนื่องจากจุดเชื่อมต่อของสายโทรศัพท์ถูกใช้งานเต็มที่พร้อมกันนั่นเองSDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญสองประการคือ - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี (หรือมากกว่านี้) จึงจะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้โดยแต่ละเทคโนโลยีมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
Symmetric Digital Subscriber Line (SDSL)
มีกำเนิดมาจาก HDSL แต่ได้พัฒนาให้ใช้กับสายโทรศัพท์เพียงคู่เดียว โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ในระดับ T1/E1 หรือ 1.544/2.048Mbps ทั้งด้านรับและส่ง ในทางทฤษฎี HDSLซึ่งแยกวงจรรับและส่งออกจากกันไปอยู่คนละคู่สายโทรศัพท์ จะสามารถทำงานได้ที่ความถี่ต่ำกว่า SDSL ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานที่ระยะทางไกลกว่าด้วย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ระยะทางที่ใช้งานได้ต่างกันไม่มาก การใช้สายโทรศัพท์เพียงคู่เดียวทำให้ SDSL สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายเคเบิลลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง
HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line HDSL : High bit rate Digital Subscriber Line
เป็นเทคโนโลยีระบบที่มีจำนวนบิตในอัตราสูง ซึ่งกระจายอัตราการรับส่งข้อมูลใน 2 ทิศทาง HDSL เป็นเทคโนโลยีรุ่นบุกเบิกของ DSL เพราะเคยใช้รับส่งข้อมูลแบบ T1 เหนือเกลียวคู่สัญญาณ โดยปราศจากอุปกรณ์เสริมอื่นใดที่ใช้สำหรับติดตั้งวงจร T1 เช่น นำแถบเชื่อมออก (the removal of bridged taps) และการติดตั้งรีพีทเตอร์ (the installation of repeaters) HDSL ใช้ 2 คู่สายเคเบิลไกลถึง 12000 ฟุต ขณะที่ HDSL-2 ใช้คู่สายเคเบิลเดียว และรองรับระยะไกลได้ถึง 18000 ฟุต HDSL ไม่สามารถใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์ระบบอนาลอกได้HDSL ข้อดี : เร็ว และเป็นทางสำรองสำหรับระบบสายถาวร ข้อเสีย : ราคาแพง ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงได้ HDSL (High Data Rate Digital Subscriber Line) เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนา DSL ซึ่งหลักการนั้นก็ง่ายมากคือ แทนที่จะใช้สายทอง- แดงเพียงคู่เดียวอย่างใน ADSL ก็เพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 คู่ หากระยะทางระหว่างผู้ให้บริการถึงผู้ใช้นั้นไกลกันมากก็อาจจะต้องใช้ถึง 3 คู่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ HDSL สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 4 MBit/s ทั้งการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมๆ กัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดของ HDSL คือผู้ให้บริการสามารถใช้เครือข่ายสายทองแดงที่มีอยู่แล้วต่อไปได้เลย แต่ข้อเสียของมันก็อยู่ที่ความยุ่งยากในการแก้ไขสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น และนอกจากนั้นยังทำให้ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงอย่างเคยได้ ซึ่งข้อหลังนี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้ HDSL ไม่ได้รับความนิยมมากนัก VDSL ข้อดี : แบนด์วิดธ์สูงมากข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ให้บริการค่อนข้างสูง และในขณะนี้ยังอยู่แค่ในขั้นตอนการทดสอบเท่านั้น เมื่อครั้งที่องค์การไปรษณีย์ของเยอรมนีจะทำการวางเครือข่ายโทรศัพท์สื่อสารในรัฐใหม่หลังจากการรวมประเทศของเยอรมนีนั้น ได้มีการใช้สายใยแก้วแทนสายทองแดงธรรมดาในหลายๆ เมือง และในขณะนั้น ADSL ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักดีนัก ดังนั้นจึงน่าเสียดายที่เมืองหลายๆ เมืองยังคงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มแบบ 56k ธรรมดาหรือผ่าน USDN ทั้งๆ ที่มีระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ทันสมัยรองรับอยู่แล้ว แต่ด้วยโปรเจ็กต์ OPAL น่าจะทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ VDSL (Very High Data Rate DSL) ได้รับความนิยมขึ้นมา ด้วย สายใยแก้วนี้จะทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 52 MBit/s ในการดาวน์โหลด ซึ่งเร็วกว่า DSL 68 เท่า และเร็วกว่า ISDN ถึง 800 เท่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามกว่าที่จะไปถึงจุดนั้นได้ก็ยังคงมีอุปสรรคอีกมากโดยเฉพาะในส่วนของ การลงทุนของผู้ให้บริการเพราะในโปรเจ็กต์ OPAL นั้นต้องมีการวางสายใยแก้วจากผู้ให้บริ-การสองแบบด้วยกันคือ FTTC (Fibre to the Curb) ที่สายใยแก้วจะไปสิ้นสุดลงที่ทางเดินเท้า และ FTTB (Fibre to the Basement) ที่สายใยแก้วจะเข้าไปจนถึงห้องใต้ดินของบ้าน ส่วนระยะทางที่เหลือคือจากจุดแยกของสายก็จะใช้สายทองแดงในการส่งผ่านข้อมูลเช่นเดิม การรับส่งข้อมูลแบบผสมนี้ถือว่าเหมาะมาก เพราะระบบสายโทรศัพท์เดิมที่บ้านก็เป็นสายทองแดงอยู่แล้ว ระยะทางสูงสุดที่จะสามารถส่งผ่านข้อมูลทางสายทองแดงด้วยความเร็ว 52 MBit/s ได้โดยไม่มีสัญญาณรบกวนคือ 300 เมตร แต่การเปลี่ยนจากสายใยแก้วมาเป็นสายทอง-แดงนี้เองที่เป็นตัวทำให้ต้องลงทุนสูง เพราะนอกเหนือไปจากที่ต้องมีจุดแยกสายแล้ว ยังต้องมีโมเด็มเพิ่มขึ้นมาอีกตัวสำหรับแปลงสัญญาณของสายใยแก้วให้เหมาะสำหรับสายทองแดง และผู้ใช้ต้องมีโมเด็มอีกเครื่องที่คอมพิวเตอร์เช่นเดิม แบนด์วิดธ์ : ด้วยใยแก้วนำแสงทำให้การดาวน์โหลดมีความเร็วได้สูงถึง 52 MBit/s Wireless LAN ข้อดี : มี Web Access ตลอดเวลา เป็นเทคนิคที่สมบูรณ์แล้วและราคาถูก ข้อเสีย : มีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ แต่ก็ยังไม่ทุกพื้นที่ โปรเจ็กต์อย่าง SydneyWireless (www.sydneywireless.com) หรือ SeattleWireless (www.seattlewireless.net) คงจะบ่งบอกถึงทิศ-ทางของลักษณะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี W-LAN-Access Points ตาม ที่สาธารณะต่างๆ เช่นในร้านอาหารหรือในที่ พักอาศัยจะสามารถสร้างเครือข่าย WAN (Wide Area Net-work) ขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบเพื่อท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา และสะพานที่จะใช้ไปสู่โลกอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจะเป็น DSL, สายเคเบิลหรือระบบสายถาวรต่างๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้สะพานเหล่านี้อยู่ ใน Forum และ Chat ต่างๆ ได้มีการถกเถียง กันอย่างมากระหว่าง Wireless User ทั้งหลายถึงทางเลือกใหม่ๆ และตัว WAN นั้นควรจะเป็นอินเทอร์เน็ตเสียเองเนื่องจากมีข้อมูลต่างๆ อยู่ครบถ้วนแล้ว นั่นจะทำให้อินเทอร์เน็ตอย่างที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้ก็จะหมดความหมายลง ไป แต่ก็ยังมีปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ อยู่เช่นการ Roaming หรือการส่งต่อระหว่างสถานีสัญญาณต่างๆ เพราะผู้ให้บริการ W-LAN ทั้งหลายยังไม่ได้เตรียมตัวรับมือในด้านนี้ การเชื่อมต่ออาจจะถูกตัดขาดลง และจำเป็นจะต้องมีการ สร้างการเชื่อมต่อ่ใหม่ขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้ใช้จะได้รับ Internal IP ภายในระบบตัวใหม่ ส่วนในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ผู้ใช้อาจจะสูญเสียข้อมูลที่กำลังดาวน์โหลดไปหรืออาจจะต้องเริ่มการ Chat ใหม่ แต่ถึงจะมีอุปสรรคในเรื่องนี้ ก็ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่เล็งเห็นความสำคัญของเทคนิค นี้ และกำลังทำการแก้ไขปัญหา Roaming นี้อยู่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นการทดลองและต้องรอดูผลกันต่อไป
     VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line หรืออาจจะเรียกว่า Very High Bit Rate Digital Subscriber Line แต่ความหมายเดียวกัน เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎีโดยพื้นที่ให้บริการห่างจากตู้ชุมสายไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จึงจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด หากระยะห่างออกไป ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะแปรผันลดลงตามระยะทางดังกล่าว
VDSL กับ ADSL ต่างกันอย่างไร
          VDSL ย่อมาจาก Very high bit rate Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในตระกูล xDSL ด้วยคุณสมบัติข้อดีที่เข้ากันได้กับสายโทรศัพท์พื้นฐานที่ใช้งานอยู่ตามบ้านทั่วไป  จึงทำให้ทางอัลไลด์ เทเลซิน (Allied Telesyn)  ผู้นำทางด้านเน็ตเวิร์คและ IP Solution  ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานในลักษณะ Ethernet Over VDSL ขึ้น  เพื่อนำไปใช้งานกับตึกสูง(MxU) ดังกล่าวนี้   ไม่ว่าจะเป็นตึกในลักษณะอาคารหรือสำนักงานให้เช่า (MTU หรือ Multi-Tenant Units)  หรือใช้งานในอาคารแบบ MDU(Multi-Dwelling Units) อาทิเช่น คอนโด, หอพัก หรือโรงแรม เป็นต้น   ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ AT-MC601 และ AT-MC602   เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต  Ethernet เข้ากับสายโทรศัพท์  เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้นเป็น 10Mbps (Full Duplex / จากเดิมที่ Dial-Up Modem  ทำได้อย่างเต็มที่ที่ 56Kbps เท่านั้น)  และรองรับระยะทางได้ 1.2 กิโลเมตร  นอกจากนี้ยังสามารถทำ Traffic Shapping ได้ทั้งการ Up-Stream และ Down-Stream   และติดตั้งได้ง่าย และจะไม่มีผลกระทบกับระบบโทรศัพท์เดิม โดยสามารถใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Ethernet Over VDSL ได้ พร้อมทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เป็นปกติ
ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line คือ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์ ADSL เป็นเทคโนโลยีในตระกูล xDSL โดยมีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆ เทคโนโลยี ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ซึ่งจะแบ่งย่านความถี่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล(Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน เทคโนโลยี ADSL พัฒนาให้ใช้ TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ ADSL สามารถรองรับ Application ในด้าน Multimedia ได้เป็นอย่างดี
          เทคโนโลยี ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ซึ่งจะแบ่งย่านความที่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล(Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน
           
เทคโนโลยี ADSL พัฒนาให้ใช้ TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ ADSL สามารถรองรับ Application ในด้าน Multimedia ได้เป็นอย่างดี
           
เทคโนโลยี VDSL เป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานสำหรับอาคารประเภท MxU ซึ่งอาคารประเภท MxU แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
          1.   MTU (Multi-Tenant Units) คือ อาคารที่ประกอบไปด้วยสำนักงานหรือองค์กรต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างหลากหลาย หรือเรียกง่าย ๆ คือ เป็นอาคารที่เปิดให้องค์กรต่าง ๆ เช่าพื้นที่ในการใช้เป็นสำนักงาน
          2.   MDU (Multi-Dwelling Units)
เป็นประเภทอาคารบ้านพักที่ไม่ใช่สำนักงาน เช่น หอพัก คอนโดมิเนียม โรงแรม รีสอร์ทหรือบ้านพักตากอากาศ ก็จัดอยู่ในประเภท MDU เช่นกัน
           
ในปัจจุบันอาคารประเภท MxU นั้นมีอยู่แพร่หลาย ฉะนั้นการแข่งขันในตลาดจึงมีสูง  สิ่งที่จะนำมาเป็นข้อได้เปรียบและทำให้ MxU Building ใด ๆ เหนือกว่าอาคารของคู่แข่ง และดึงดูดลูกค้าหรือองค์กรให้เข้ามาใช้บริหาร นอกจากจะเป็นเรื่องของสถานที่ตั้ง, ราคา, สิ่งแวดล้อม, สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
จุดเด่นของ VDSL ที่เหนือเทคโนโลยีอื่น ๆ
          -
อัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 15 Mbps
          -
รองรับระยะทางได้สูงสุดถึง 1.5 km
          -
สนับสนุน IEEE 802.1x (Authentication) ความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบ
          -
สนับสนุนการจัดเก็บเงิน และระบบ Property management system (PMS) สามารถออกบิลเรียกเก็บค่าใช้บริการ สนับสนุน IEEE 802.1p และ IEEE 802.1q ในการให้บริการ QQS (Quality of Service) เป็นการจัดการ ลำดับความสำคัญของงานและลำดับความสำคัญของผู้ใช้บริการ
          -
สนับสนุน IGMP snooping ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Entertainment on demand (EOD)
          -
สนับสนุน VLAN เพิ่มประสิทธิ์ภาพและความปลอดภัยของระบบ
การวางระบบ VDSL
          เทคโนโลยี VDSL จะแตกต่างกับเทคโนโลยี xDSL แบบอื่นตรงที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในอัตราสูงกว่ามากได้ โดยสูงกว่าอัตราเร็วสูงสุดของ ASDL ที่ทำได้ในปัจจุบัน แต่มีระยะทางของการให้บริการเพียง 4,500 ฟุต (1.5 กิโลเมตร) เท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นการเดินสายภายในอาคารบางแห่ง อาจจะเกินระยะทางการให้บริการได้ และที่แย่ไปกว่านั้นคือ ยิ่งสายมีความยาวมากขึ้นก็จะมีความเร็วตกลงจากเดิมอีกด้วย ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในการรับ-ส่งข้อมูลภายในอาคารสำนักงาน หรือที่พักอาศัย แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระยะทางนั้นสามารถแก้ปัญหาได้โดยผู้ให้บริการสามารถเลือกที่จะติดตั้ง Fiber Optic ไปยังผู้ใช้โดยตรง ซึ่งจะต้องลงทุนสูง แต่เนื่องจากเทคโนโลยี VDSL นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับสายโทรศัพท์ธรรมดา ถือเป็นจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเทคโนโลยี VDSL ระยะทางในการให้บริการจึงไม่น่าจะเป็นปัญหา และจะเห็นได้ว่าอาคารประเภท MxU ทุกแห่ง จะต้องมีการเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคารไปตามห้องต่าง ๆ อยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อต้องการเพิ่มระบบอินเทอร์เน็ตให้กับห้องต่าง ๆ ในภายในอาคารแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทำการเดินสาย Fiber Optic เพิ่มเติมเพราะด้วยคุณสมบัติการให้บริการสามารถนำเทคโนโลยี VDSL เข้ามาใช้งานร่วมกับระบบสายโทรศัพท์เดิมได้เลย หลักการทำงานคือ สามารถเดิน Fiber Optic ไปยังชั้นล่างสุดของอาคาร ซึ่งจะติดตั้ง OUN (Optical Network Unit ตู้สีเขียวที่อยู่ริมถนนหรืออยู่ด้านล่างของอาคาร) และโมเด็ม VDSL เอาไว้ด้วยกัน หากผู้ใช้ต้องการใช้บริการ Broadband ที่มีอัตราเร็วสูงก็เพียงแต่ต่อโมเด็ม VDSL เข้ากับคู่สายทองแดงที่เดินมาจากชั้นล่างของอาคารเท่านั้น การใช้โมเด็ม VDSL สำหรับรับ-ส่งข้อมูลผ่านสายทองแดง จะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ การต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการใช้งานโทรศัพท์จะส่งผ่านคู่สายเพียงคู่เดียวเท่านั้น เทคโนโลยีการเดินสาย Fiber จากชุมสายมายังตู้ OUN ถูกเรียกว่า Fiber To The Curb (FTTC) หรือ Fiber To The Neighborhood (FTTN) หรือ Fiber To The Basement (FTTB) (โดยถ้าหากนำมาเทียบกับเทคโนโลยีในตระกูลเดียวกันและใช้กันมาก่อนหน้าเทคโนโลยี VDSL อย่างเทคโนโลยี ADSL แล้วนั้นจะมีความเร็วเร็วกว่าถึงประมาณ 10 เท่า และมากกว่า 30 เท่าหากเทียบกับเทคโนโลยี HDSL)
          การที่จะเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSLนั้น จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ประเภท VDSL ด้วย วิธีการเชื่อมต่อสามารถทำได้สองแบบคือ การเชื่อมต่อแบบ Point-to-Point และการเชื่อมต่อแบบ Point-to-Multi Point
          การเชื่อมต่อแบบ Point-to-Point นั้น จำเป็นจะต้องมี VDSL Converter ที่เป็นตัว (Master) และ VDSL Converter ที่เป็นตัว (Slave) ซึ่ง VDSL Converter (Master) จะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณแบบ Ethernet ที่ใช้กับสาย UTP และ STP ให้เป็นสัญญาณแบบ VDSL เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลบนสายโทรศัพท์ได้ และ VDSL Converter (Slave) จะทำการแปลงสัญญาณ VDSL ที่ส่งมากับสายโทรศัพท์มาเป็นสัญญาณแบบ Ethernet กลับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ มาเชื่อมต่อกับ VDSL Converter ได้ทันที และนอกจากนั้นบนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันยังจะสามารถโทรศัพท์ได้พร้อมกันอีกด้วย
         
ส่วนการเชื่อมต่อแบบ Point-to-Multi Point  ซึ่งจะใช้สำหรับในกรณีที่มีการเชื่อมต่อระยะทางไกลๆ จะต้องนำอุปกรณ์ VDSL Switch มาใช้ โดยอุปกรณ์ VDSL Switch นั้นจะทำงานร่วมกับอุปกรณ์ VDSL Converter (Slave) ส่วนอุปกรณ์ VDSL Switch นั้นก็จะมีให้เลือก 8 Port กับ 12 Port

 

 
รายการอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง
          1. Vantage Service Gateway
          2. Dimension Ethernet Switch
          3. Vision VDSL Switch
          4. Prestige CPE
          5. Billing Software (Optional)
การติดตั้งอุปกรณ์ VDSL
          การติดตั้งระบบเครือข่ายด้วยเทคโนโลยี VDSL แบ่งเป็นการติดตั้งเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ
          -
การติดตั้งที่ห้องควบคุม (Control Room)
          -
การติดตั้งที่ปลายทาง (ห้องผู้ใช้งาน)
1. การติดตั้งที่ห้องควบคุม (Control Room)
           
สิ่งที่ต้องติดตั้งที่ห้องควบคุม คือ Vantage Service Gateway, Dimension Ethernet Switch, Vision VDSL Switch และ Billing Server ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันตามเครือข่าย การติดตั้งระบบเครือข่ายด้วยเทคโนโลยี DSL เราจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ VDSL Switch เข้ารับระบบสายโทรศัพท์ของอาคาร โดยปกติระบบสายโทรศัพท์ภายในอาคารจะถูกติดตั้งโดยมีระบบ PBX ซึ่งรับเลขหมายมาจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์ (CO Line) โดยผ่านตู้พักสาย MDF ซึ่งมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์จาก PBX สู่ห้องพักต่างๆ โดยการติดตั้ง VDSL Switch จะเชื่อมต่อเข้าคู่สายที่ต้องการใช้งานจากตู้ MDF โดยจะไม่ต้องรื้อระบบโทรศัพท์ เดิมให้ยุ่งยากเลย

2.
การติดตั้งที่ปลายทางสาย (ห้องผู้ใช้บริการ)
          อุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งที่ห้องผู้ใช้บริการคือ อุปกรณ์ VDSL Modem โดยอุปกรณ์ VDSL Modem มีลักษณะเป็น External Modem คือสามารถต่อสายโทรศัพท์ได้ ตลอดเวลา พร้อมทั้งยังสามารถใช้สายศัพท์ได้ในขณะใช้บริการ VDSL หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ VDSL modem ที่ห้องผู้ใช้บริการ โดยการเชื่อมต่อเข้ากับระบบห้องควบคุม สามารถเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ต RJ11 ของอุปกรณ์ VDSL modem และผู้ใช้งานจะต่อคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต สาย LAN (RJ-45) และทำการติดตั้งค่าเกี่ยวกับระบบเครือข่ายที่จำเป็นเท่านี้ลูกค้าก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้พร้อมกับการใช้โทรศัพท์
มาตรฐานและการใช้งานในปัจจุบัน
           การกำหนดมาตรฐานสำหรับเทคโนโลยี VDSL ของคณะกรรมการมาตรฐานของยุโรป (ETSI) และของอเมริกา (ANSI T1.413) กำลังดำเนินการพัฒนาอยู่ ปัจจุบันอยู่ในขั้นดำเนินการกำหนดความต้องการสำหรับโมเด็ม VDSL เช่น ระยะทางไกลที่สามารถส่งได้ อัตราเร็วข้อมูล และสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน ขั้นตอนถัดไปก็จะหาข้อกำหนดของ line coding และรายละเอียดทางเทคนิคอื่นๆ เพื่อให้โมเด็ม VDSL มีประสิทธิภาพในการทำงานตามความต้องการต่าง ๆ ตามที่ได้ ผู้ให้บริการโมเด็มส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้มาตรฐานถูกกำหนดเสียก่อน แต่กลับพัฒนาชิป VDSL ขนานไปกับการพัฒนามาตรฐานที่กำลังดำเนินการอยู่เมื่อมาตรฐานเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ให้บริการก็จะปรับโมเด็มให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ตามมาภายหลัง
         
มีผู้ให้บริการบางรายกำลังวางแผนและกำลังทดสอบการใช้งานVDSL ตัวอย่างเช่น ในการติดตั้งระบบ Dec Duck Informative System และปัจจุบันกำลังทดสอบ VDSL ของOrckit อยู่เครือข่ายของเกาหลีนี้จะให้บริการ VOD(Video On Demand) ดิจิตอล CATV และโทรศัพท์ โดยการใช้เครือข่าย ATM ผู้ให้บริการจะใช้ VDSL ที่มีอินเตอร์เฟส aTM เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง CANS (Centralised Access Node System) กับผู้ใช้ผ่านสายทองแดงด้วยอัตราบิต 25 Mb/s
โครงการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหลายโครงการในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยี VDSL เข้ามาใช้Singapore one ได้ประกาศแล้ว่า จะใช้ ASDL ในการสร้าง Intelligent Island และ ASDL จะถูกนำมาใช้สำหรับการขยายเครือข่ายเมื่อ Fiber ได้ถูกนำมาใช้เข้าไปใกล้ผู้ใช้ปลายทางมากขึ้น โครงการ Opportunity/Teluk Naga ของอินโดนีเชีย และ Multimedia Super Corridor ของมาเลเซีย มีความคิดที่จะนำ VDSL เข้ามาใช้งานเช่นกัน นอกจากนี้บริการอินเทอร์เน็ตแอกทีฟมัลติมีเดียของฮ่องกง ซึ่งจะเปิดบริการในปีถัดไป จะเปิดบริการใช้อินเทอร์เน็ตให้บริการทางการเงิน อีเมล์ไดเร็กทอรี่ บริการช็อปปิ้งและวารสารออนไลน์ บริการอบรมทางการศึกษาและบริการข้อมูลด้านอื่น ๆ ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ ขณะนี้ยังมี โมเด็ม VDSL อยู่น้อยมาที่ขายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งบอกความจริงที่ว่ายังมีการทดสอบใช้งานVDSL น้อยมากทั่วโลก โมเด็มส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ชิปของ Lucent Technology ซึ่งไม่สนับสนุนมาตรฐาน ESTI VDSL performance ที่กำลังพัฒนาขึ้น โมเด็ม VDSL (ที่มอดูเลตแบบ QAM) ของทางOrckit ที่มีชื่อว่าORspreed จะใช้ชิปและชิ้นส่วนประกอบที่ทางOrckitry พัฒนาขึ้นเองง ด้านการตลาด ช่วงกว่า ๅ ปีที่ผ่านมาโมเด็ม OR speed ได้ถูกทดสอบแล้ให้ผลลัพธ์เป็นอย่างดี โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์หลายๆรายซึ่งประกอบด้วย Deutshe Telekom Tclia และ Bell Canada หลายปริษัทประกอบด้วยOrckit และ Harris Semiconductor กำลังพัฒนาชิป VDSL ซึ่งคาดว่าจะมีให้ใช้ในปี 1998 ประเด็นสำคัญต้องพิจารณา เนื่องจาก VDSL ถูกติดตั้งใช้งาน
การประยุกต์ใช้งานและประโยชน์ของ VDSL
          นอกจากการออกแบบมาใช้งานสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว VDSL ยังสามารถกำหนดให้เหมาะกับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางได้อีกด้วย แม้แต่ผู้ใช้ในระดับองค์กรก็ยังสามารถนำมาใช้งานได้ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐหลาย ๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือการแพทย์ เป็นตัน ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ได้แก่
          1. Application
ที่ต้องการส่งข้อมูลความเร็วสูง
          2.
การทำ Video teleconferencing, teleconsulting, VOD (Video On Demand)
          3.
การประชุมผ่านจอภาพที่มีคุณภาพสูง
          4 .
การส่งภาพทางการแพทย์ หรือการเรียนการสอนทางไกล
          แต่ไม่ว่าจะมีเครือข่ายความเร็วสูงเพียงใด การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ก็เป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่างฮาร์ดดิสก์เมื่อก่อนมีความจุอยู่ในหลักเมกะไบต์ เมื่อเพิ่มความจุขึ้นมาในระดับกิกกะไบต์ใหม่ ๆ เนื้อที่มีอยู่อย่างเกินพอที่จะใช้งาน แต่ในปัจจุบันลง OS ก็แทบจะเต็มแล้ว ฮาร์ดดิสก์ใหญ่กว่าอย่าง 120 กิกกะไบต์ สำหรับผู้ใช้งานบางประเภทอาจจะมากพอ แต่สุดกลับกลายเป็นว่าเอาไว้เก็บไฟล์ขยะที่สุดท้ายฮาร์ดดิสก์ก็ยังคงเต็มเช่นเดิม Bandwidth ที่มีก็เช่นเดียวกันหากเปิดกว้างให้ใช้งาน แล้วผู้ใช้ใช้อย่างไม่รู้คุณค่า โหลดไฟล์เรียกว่าขยะ หรือก็อปปี้ข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ รวมทั้งไม่มีการป้องกันไวรัสหรือเวิร์มได้ดีพอสุดท้ายแล้ว Bandwidth ที่มีมากขนาดนี้ก็คงไม่พอเช่นกัน
ข้อดีของ VDSL
           -
รองรับการใช้งานระบบ Internet ความเร็วสูง โดยสามารถรองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 10 Mbps Full-Duplex Ethernet รองรับระยะทางในการใช้งานได้สูงสุดถึง 1.2 กิโลเมตร
          -
สามารถใช้งานได้กับสายโทรศัพท์ตั้งแต่ Category 1, 2, 3 หรือ 5 ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิล UTP หรือ Fiber ใหม่เลย
          -
สัญญาณรบกวนต่างๆ (Noise) มีผลกับการใช้งานน้อยมาก มีความสามารถในการทำ Traffic Shaping ทั้งการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Upstream และ Downstream
          -
ติดตั้งและใช้งานได้โดยง่าย
          -
สามารถใช้ระบบ Internet ความเร็วสูงได้โดยไม่มีผลกระทบกับระบบโทรศัพท์เดิม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคมและหน่วยงานราชการ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม
          การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมที่น่าสนใจ ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
           ดาวเทียม (Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก รอบดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวฤกษ์ต่างๆ หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร (Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)               
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้  
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)               
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 
กรุ๊ปแวร์(groupware)               
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)               
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM 
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)               
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                 
  การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งาน
หลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  
ตัวอย่างการนำดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในระบบ GPS เพื่อระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ อำนวยความสะดวกด้านโทรคมนาคม (www.aso.com, www.pocketpcmaq.com )
  โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
เนื่องจากระบบ ISDN เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด ตลอดปลายทาง ไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน(Noise) ก็จะลดน้อยลงด้วยทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้อง ไว้วางใจได้สูงกว่าระบบเดิม ความเร็วในการรับส่ง 64 Kbps ต่อวงจร ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ ตัวอักษร ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
          สำหรับการบริการของระบบ ISDN ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นนอกจากการส่งข้อมูลเสียงแล้ว ยังบริการข้อมูลอื่นๆ อีก อาทิ ระบบโทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งสามารถแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ชื่อ ตลอดจนที่อยู่ของผู้ที่เรียกมา และระบบโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลของผู้ที่เรียกเข้ามาได้ นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังช่วยให้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยพร้อมกันหลายๆ สายได้ อีกทั้งมีระบบไปรษณีย์เสียง (voice mail) กล่าวคือ หากผู้ที่โทรเรียกไปพบว่าสายไม่ว่างหรือไม่มีผู้รับก็อาจจะทิ้งข้อความไว้ และเมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบ ข้อความที่ฝากไว้ก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่ผู้นั้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการบริการให้แก่โรงแรมต่างๆ ในการปลุกผู้เข้าพักโดยอัตโนมัติอีกด้วย
            โทรสาร (Facsimile) โทรสารหรือแฟ็กซ์ (Fax) เป็นวิวัฒนาการด้านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อส่งผ่านสารสนเทศจากต้นแหล่งไปยังผู้รับปลายทาง โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง ระบบการทำงานของเครื่องโทรสารเป็นกระบวนการที่เครื่องส่งฉายแสงไปที่เอกสาร รูปถ่าย ภาพเขียน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ อันเป็นต้นฉบับ เพื่อเปลี่ยนภาพหรืออักษรเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปตามช่องทางคมนาคมต่างๆ อาทิ ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ เครื่องส่งวิทยุ เมื่อเครื่องรับปลายทางได้รับสัญญาณดังกล่าว ก็จะเปลี่ยนสัญญาณนั้นให้ปรากฏเป็นภาพหรือข้อความตรงตามต้นฉบับ
โทรภาพสาร (Teletext) โทรภาพสารหรือเทเลเท็กซ์เป็นระบบรับ-ส่งสารสนเทศผ่านคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ส่งออกอากาศได้ในเวลาเดียวกันกับที่มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ตามปรกติ สารสนเทศจะถูกส่งออกอากาศเป็นหน้าๆ เหมือนหน้าหนังสือทั่วไป ผู้ชมสามารถใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) เรียกสารสนเทศนั้นออกมาดูได้ตามต้องการ หรือเลือกดูเฉพาะข้อความที่ต้องการและหยุดดูได้นานตามต้องการ ไม่ต้องรอดูตั้งแต่หน้าแรก และยังสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ตามปกติ ผู้ที่มีเครื่องรับธรรมดาจะรับสารสนเทศทางเทเลเท็กซ์ได้ด้วยการติดตั้งแผ่นวงจรพิเศษ กับเครื่องรับโทรทัศน์
           ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกขั้นต้น ในการให้บริการจดหมายทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ แนวความคิดเกี่ยวกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงเรื่อง Broad Spectrum ด้วย กล่าวคือสารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงถูกส่งออกไป ดังนั้น กระบวนการของระบบจึงเป็นลักษณะเดียวกับระบบโทรสาร
          ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลผลลัพธ์จากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจปรากฏในรูปของ Video Terminal, Word Processor, โทรสาร, Data Terminal Computer Vision และระบบการสื่อสารด้วยเสียง การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยข่ายงานโทรคมนาคม ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์ที่มีข้อความสำคัญและประสงค์การส่งอย่างรวดเร็ว อาจกระทำได้โดยส่งผ่านออกไปในรูปแบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านข่ายงานข้อมูลที่เรียกว่า Computerize Switching System
         การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ 2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกัน ผ่านระบบออนไลน์
 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่างๆ
          สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Technology Services - GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน อันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
           สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ซึ่งระบบงานที่สำคัญมีดังนี้คือ
  • ระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร
  • ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย ได้มีการนำเทคโนโลยีลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital signature) เข้ามาช่วยในการยืนยันผู้ส่งและยืนยันความแท้จริงของอีเมล
           อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชน ก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่างๆ
           การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ



มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย
Bluetooth
     บลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูทช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ ที่มาของชื่อบลูทูธนั้นนำมาจากกษัตริย์ฮารอล์ด บลูทูธ (King Harold Bluetooth) ของประเทศเดนมาร์ก
สัญลักษณ์ของอุปกรณ์นี้คือตัวอักษร อักษรรูนส์ Rune เมื่อนำตัวหน้าของชื่อกษัตริย์ Harald Bluetooth มาวางซ้อนกัน
ตัว H ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์กากบาท ที่มีขีดพาดกลางตามแนวตั้ง หรือตัว Hagalaz ในอักษรรูนส์ ส่วนตัว B ถูกแทนด้วยตัว Bekano ซึ่งคล้ายตัว B เดิมอยู่แล้ว
เมื่อนำสัญลักษณ์ทั้งสองตัวมาซ้อนกันจึงได้ โลโกของ bluetooth ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้
รายละเอียดทางเทคนิค
ระยะทำการ
ความสามารถในการส่งข้อมูลของบลูทูธนั้นขึ้นกับแต่ละ class ที่ใช้ ซึ่งมี 3 class ดังนี้
•Class 1 กำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 100 เมตร
•Class 2 กำลังส่ง 2.5 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 10 เมตร
•Class 3 กำลังส่ง 1 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 1 เมตร
รุ่น
ปัจจุบันข้อกำหนด Bluetooth ออกมาแล้ว 5 รุ่น
•Bluetooth 1.0
•Bluetooth 1.1
•Bluetooth 1.2 z
•Bluetooth 2.0
•Bluetooth 2.0 EDR
•Bluetooth 2.1 EDR
•Bluetooth 3.0
ระบบ EDR : Enhanced Data Rate เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 3 Mbps.โปรไฟล์
•HFP
•AVRCP ย่อมาจาก Audio/Video Remote Control Profile
EDR
EDR (Enhanced Data Rate)
คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการปรับปรุงให้สามารถสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายได้เร็วขึ้น ทั้งนี้พัฒนาจากรุ่น 1.1 ที่ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว 1 เมกะบิตต่อวินาที จนถึงรุ่น 1.2 ที่ปรับปรุงสัญญาณและคลื่นความถี่ บลูทูธ 2.0+ EDR ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว 3 เมกะบิตต่อวินาที
วายฟาย
(Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11
เดิมทีวายฟายออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้วายฟายเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์ และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมเรียกว่า ฮอตสปอต
แต่เดิมคำว่า Wi-Fi เป็นชื่อที่ตั้งแทนตัวเลข IEEE 802.11 ซึ่งง่ายกว่าในการจดจำ โดยนำมาจากเครื่องขยายเสียง Hi-Fi อย่างไรก็ตามในปัจจุบันใช้เป็นคำย่อของ Wireless-Fidelity โดยมีแสดงในเว็บไซต์ของ Wi-Fi Alliance โดยใช้ชื่อวายฟายเป็นเครื่องหมายการค้า
ปัจจุบันวายฟายถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เครื่องเล่นวิดีโอเกม นินเทนโด ดีเอส และ พีเอสพี มีความสามารถในการเล่มเกมกับเครื่องอื่นผ่านวายฟายเช่นกัน
ไวแมกซ์ (WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 และได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16d ให้รองรับการทำงานแบบจุดต่อจุด ขึ้นโดยได้เผยแพร่เอกสารมาตรฐานฉบับสมบูรณ์เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE: Institute of Electrical and Electronics Engineers) ในช่วงแรกมาตรฐาน IEEE802.16 ได้ออกแบบให้ส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุด(Point-to-Point) จึงทำให้ส่งข้อมูลได้ระยะไกลส่งข้อมูลได้ระยะห่าง 30 ไมล์ (ประมาณ 50 กิโลเมตร) ด้วยอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
จากความต้องการใช้งานบอร์ดแบนด์ไร้สายในขณะเคลื่อนที่ทำให้สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้กำหนดมาตรฐาน IEEE802.16 ทำการศึกษาและพัฒนามาตรฐาน IEEE802.16 ให้รองรับการใช้งานแบบเคลื่อนที่โดยตั้งชื่อกลุ่มว่า IEEE 802.16e มาตรฐานใหม่นี้มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง (ต้นไม้ อาคาร) ได้เป็นอย่างดี มาตรฐาน IEEE 802.16e นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์(GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐาน IEEE802 ชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
จากจุดเด่นข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกลที่สายเคเบิลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น ไวแมกซ์ ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (video) งานเสียง (voice) และข้อมูล (data) ภายใต้เทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายไร้สายชื่อว่า OFDMA อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้รับอนุญาต (authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่ายและข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น


การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)               
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้  
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)               
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 

กรุ๊ปแวร์(groupware)               
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)               
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM 
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)               
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                 
  การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น