วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานที่สามารถจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices), หน่วยประมวลผล (Processor) และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)
            1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
                           1.1 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับชี้ตำแหน่ง ควบคุม และย้ายตำแหน่งบนจอภาพ
รวมทั้งสามารถเลือกภาพ หรือข้อความได้โดยการคลิกเมาส์

56838

1.2 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ประกอบไปด้วยตัวอักษร
ตัวเลข สัญลักษณ์ ช่องว่าง รวมไปถึงคีย์ลัดเพื่ออำนวยความสะดวก

56841
1.3 ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ลักษณะคล้ายกับ
ปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ปาล์มคอมพิวเตอร์ เครื่องพีดีเอ

56843
1.4 เครื่องสแกนเนอร์หรือสแกนภาพ (Image Scanners) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับ
สแกนภาพ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยสแกนเนอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สแกนเนอร์แบบมือถือ และสแกนเนอร์แบบแท่นนอน

 5685556856
1.5 กล้องดิจิตอล (Digital Cameras) กล้องดิจิตอลมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้อง
ถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์ม สามารถเก็บบันทึกภาพได้จำนวนมาก สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ระยะเวลาในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังไม่มากเท่าที่ควร กล้องดิจิตอลสะดวกในการใช้งานจึงทำให้ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้กล้องดิจิตอลกัน มากขึ้น

56860
2. หน่วยประมวลผล (Processor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามาจากอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้นในการประมวลผลด้านกราฟิก จึงทำให้สิ่งที่แสดงผลออกมารวดเร็ว โดยซีพียูหรือโปรเซสเซอร์สามารถแบ่งตามสถาปัตยกรรมได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ แบบCISC และ ซีพียูแบบ RISC

2.1 ซีพียู CISC (Complex Instruction Set Computing) เป็นสถาปัตยกรรมที่
รวมชุดคำสั่งเพื่อสามารถใช้งานได้หลากหลาย ความสามารถในการประมวลผลในด้านกราฟิกอยู่ในระดับปานกลาง ถึงระดับดี แต่จะขึ้นอยู่กับซีพียู และหน่วยแสดงผล
2.2 ซีพียู RISC (Reduced Instruction Set Computer) เป็นสถาปัตกรรมที่มี
แนวความคิดตรงกันข้ามกับ CISC คือมีจำนวนชุดคำสั่งที่น้อยกว่าและจะมีจำนวนชุดคำสั่งที่เป็นคำสั่ง   พื้นฐาน และคำสั่งที่เรียกใช้ประจำซีพียู RISC มีการเพิ่มชุดคำสั่งเฉพาะงาน เช่น การทำงานด้านกราฟิก
                3. อุปกรณ์แสดงผล(Output devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลหลังจากผ่านการประมวลแล้ว เช่น
                                        3.1 จอภาพ (Monitor) จอภาพถือเป็นหน่วยแสดงผลที่ได้รับความนิยมที่สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวอักษร รูปภาพ และกราฟิก จอภาพมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น
                                                3.1.1 จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT Monitors) เป็นจอภาพที่รับสัญญาณแบบอนาลอก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผล เนื่องจากเป็นการใช้หลอดภาพจึงทำให้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ทำให้เกิดความร้อน จอภาพจะมีสารฟอสเฟอร์เคลือบอยู่ จอภาพแบบซีอาร์ทีจะสร้างโดยการยิงแสงอิเล็กตรอนไปยังด้านหลังของภาพที่มีสาร ฟอสฟอรัสเคลือบอยู่ จอภาพแบบซีอาร์ทีต้องมีการฉายแสงใหม่ทุกระยะ เรียกว่าการรีเฟรช

56861

                                              3.1.2 จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display: LCD Monitors) เป็นจอภาพที่ใช้วัตถุเหลวแทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง ทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ลักษณะจอแอลซีดีจะมีลักษณะแบนนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก และพีดีเอ แต่ในปัจจุบันก็มีการนำเอาจอแอลซีดีมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
56862

                            3.2 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์เอาต์พุตมาตรฐานที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูล สารสนเทศ รูปภาพ กราฟิก ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ได้พัฒนามากขึ้น ในเรื่องของความเร็วในการพิมพ์ สีสันที่คมชัดขึ้น เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
56863
                                         3.2.1 เครื่องพิมพ์แบบดอทแมทริกซ์ (Dot Matrix Printers) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มเป็นตัวกระแทกให้เกิดตัวอักษรหรือภาพ โดยหัวเข็มจะมีขนาด 9 พิน หรือ ขนาด 24 พิน และนิยมใช้กับการพิมพ์กระดาษหลายชั้น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ปัจจุบันยังคงมีการใช้อยู่เนื่องจากราคาถูก ทนทาน ง่ายต่อการบำรุงรักษา
                                        3.2.2 เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink-Jet Printers) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ตัวอักษรหรือรูปภาพที่ใช้วิธีการพ่นหมึก เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตรุ่นเก่าจะมีความเร็วในการพิมพ์ต่ำ แต่ได้พัฒนาให้มีความสามารถเร็วขึ้นในปัจจุบัน
                                        3.2.3 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printers) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากในการใช้กับงานพิมพ์เอกสารทั่วไป มีราคาแพง กว่าเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต แต่คุณภาพที่ได้จะคมชัดกว่า หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะใช้วิธีการพ่นหมึก และใช้ความร้อนเป็นตัวทำให้อักษรหรือรูปภาพติดทนนาน

ความสำคัญของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์   เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ที่มีการนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ มากขึ้น
รูปแบบของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร
Large-system Computing
Stand-alone Personal Computing
Network Computing
Large-system Computing เป็นการนำเครื่อง Terminal มาต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง (Host) หรือเครื่องในระบบ Mainframe Computer หรือ Minicomputer โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลางทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย Terminal มีหน้าที่ร้องขอให้ส่วนกลางประมวลผล แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ให้กับ Terminal แสดง              
Stand-alone Personal Computing เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เฉพาะเครื่องที่เป็นของตัวเอง    
Network Computing นำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงข้อมูลหรือสารสนเทศกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้
เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้า (Input Technologies)   
Mouse เป็นอุปกรณ์ตัวชี้บนจอภาพ และสั่งงานผ่านเมาส์ได้รวดเร็ว     
Trackball ทำหน้าที่คล้ายเมาส์ เป็นลูกกลิ้งใช้สำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ       
Joystick เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับเล่นเกมส์    
Light pen ปากกาแสง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังหน่วยแสดงผลและคอมพิวเตอร์สามารถกำหนดตำแหน่งชี้
Touch Screen หรือระบบจอภาพสัมผัส ใช้นิ้วสัมผัสบนหน้าจอภาพเพื่อสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยี Pen-Base         เป็นลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ หรือเรียกว่า Notepad Computer ผู้ใช้สั่งงานบนหน้าจอ
อุปกรณ์แปลงสัญญาณและสร้างภาพ (Imaging and Digitizing Devices)          
Digitizing Tablet เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล เป็นแผ่นกระดาน มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายมีขีดกากบาทตรงกลางพร้อมกับปุ่มสำหรับกดลอกตำแหน่ง พิกัด              
Image Scanner เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล ที่นำภาพเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ คล้ายเครื่องสำเนาเอกสาร
อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าด้วยเสียง (Voice-Input Devices)                เป็นการสั่งงานด้วยเสียง โดยเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ต้องประมวลคำแต่ละคำ  
อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเฉพาะด้าน (Special-Purpose Input Devices)     
แหล่งรับข้อมูลอัตโนมัติ (Source Data Automation) มีการเคลื่อนย้ายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เก็บข้อมูลได้มาก           คีย์บอร์ดเฉพาะด้าน (Specialized Keyboards) ใช้งานเฉพาะด้าน         
เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition : OCR) ใช้แสงอ่านตัวขระและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า             รหัสแท่ง (Optical Codes) หรือ Bar Codes มีลักษณะเป็นแท่งเรียกว่า “Universal Product Code : UPC” ใช้บนสินค้าต่าง ๆ โดยจะมีเครื่องอ่านเฉพาะ
เครื่องอ่านตัวพิมพ์หมึกแม่เหล็ก (Magnetic Ink Character Recognition : MICR) ใช้ในงานธนาคาร ระบบการ์ดอัจฉริยะ(Smart Card Systems) คล้ายเครดิตการ์ดต่างตรงที่ Microprocessor Chip และ
Memory
เทคโนโลยีการประมวลผล (Processing Technologies)          
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกหน่วยในระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยคำนวณคณิตศาสตร์และตรรกะ (Arithmetic – logic Unit : ALU) ทำหน้าที่คำนวณตัวเลขต่างๆ
หน่วยความจำหลัก (Primary Memory) หรือ Main Memory เก็บข้อมูลและคำสั่งที่รับจากหน่วยรับข้อมูลเข้า
หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory : RAM) หน่วยความจำชั่วคราว บันทึก อ่าน ได้
หน่วยความจำแบบ ROM (Read-Only Memory :ROM) เก็บคำสั่ง อ่านได้อย่างเดียว หรือหน่วยความจำถาวร ผู้ผลิตบรรจุคำสั่งมาแล้ว
ประเภทของระบบคอมพิวเตอร์ (Type of Computer Systems)            มี 4 ประเภท คือ
1. ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer System) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้พัฒนาจากเครื่อง Desktop
2. ระบบมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) มีประสิทธิภาพสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ใช้ในงานระดับกลาง
3. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) ใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ ในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก มีความเร็วในการประมวลผลสูง ที่ใช้กัน เช่น ธุรกิจธนาคาร
4. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ทำงานได้เร็วเป็นพิเศษ มีความถูกต้องสูงมาก ราคาแพงมาก ใช้งานในด้านสำคัญเป็นหลัก เช่น ด้านเศรษฐกิจและการคาดการณ์ด้านการเงินในสหรัฐอเมริกา
เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการประมวลผล (Emerging Processing Technologies)    สถาปัตยกรรมการลดชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ (RICS : Reduced Instruction Set Computing) ช่วยลดชุดคำสั่งให้เล็กลง มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเร็วในการประมวลผล
                การประมวลผลแบบขนาน (Parallel Processing) ใช้ CPU 2 ตัวทำงานพร้อมกัน แต่งานต่างกัน ทำให้รวดเร็วขึ้นในการทำงาน และประมวลผล
                การเพิ่มอัตราความเร็วของโพรเซสเซอร์ (Increasing Processor Speeds) มีอุปกรณ์เสริมช่วยในการทำงาน                การนำวัตถุดิบใหม่มาผลิตเป็น CPU Chip ใช้วัตถุอื่น ๆ แทน Silicon เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น Gallium arsenide Chips
เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Technologies)
การเข้าถึงข้อมูล (Accessing Data) คือการเข้าถึงข้อมูลในสื่อต่าง ๆ โดยมี 2 ลักษณะ คือ
การเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct Access Media)
การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access Media)
ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนจานแม่เหล็ก (Disk Access Speeds)
Seek time คือ เวลาที่หัวอ่านของ Disk เคลื่อนที่ไปยังตำแหล่งของ Track ที่มีข้อมูลอยู่
Search time หรือ Rotational Delay คือ เวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลหลังจากตำแหน่งของหัวอ่านไปยัง Track ที่ต้องการแล้ว
Data Transfer time คือ เวลาในการ อ่าน/เขียน ข้อมูลและการเคลื่อนที่ของข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลัก (Primary Memory)
อุปกรณ์และสื่อบันทึกข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Disk Devices and Media)        
Diskette หรือ Floppy Disks เป็นแผ่นดิสก์แบบอ่อน มีขนาด 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว 3.5 นิ้ว นิยมใช้ เพราะราคาถูก มีความจุพอสมควร Winch ester Disks หรือ Hard Disks ประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์ 1 ชุด มีอัตราความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่เร็ว นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ในแบบตั้งโต๊ะหรือพกพา             
Cartridge Disks เป็น Removable hard disk ในการอ่านเขียนข้อมูล สามารถถอดเข้าออกได้สะดวก เคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้ในการทำสำรองข้อมูล (Backup Data)
เทคโนโลยีจานแสง (Optical Disk) Optical Disk หรือ Laser Disks มี 2 ประเภท คือ
CD-ROM (Compact Disks Read-Only Memory) อ่านได้อย่างเดียว
WORM (Write Onece Read Many) เขียนได้ครั้งเดียว อ่านได้
Video Disk ปัจจุบันพัฒนาเป็นแผ่น disk ใช้ในการเก็บภาพยนตร์ หรืองานอื่น ๆ
อุปกรณ์เทปและสื่อ (Tape Devices and Media)         
Cartridge Tapes คล้ายเทปคาสเซ็ท (Cassette Tapes) ใช้ในการ Backup ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก
์เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลสำหรับเครื่องขนาดใหญ่ (Storage Technologies for Large Systems)                Removable Pack Disks ใช้กับระบบเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ อ่านเขียนบนผิวหน้าจาน มีจำนวน 12 จานหรือมากกว่า ต่อ 1 ชุด Pack โดยด้านผิวบนสุดและล่างสุด จะไม่มีหัวอ่าน-เขียน   


เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management Programs) ได้แก่ Microsoft Office
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานเฉพาะอย่าง (Special-Purpose Application Software) งานด้านระบบบัญชีธุรกิจทั่วไป (General Accounting Software) ด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ (Analysis and Decision Marking) เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการด้านฮาร์ดแวร์และอำนวยความสะดวกในการใฃ้งานของผู้ใช้งาน มี 3 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการกับระบบ (System Management Programs)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสนับสนุนระบบ (System Support Programs)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ (System Development Programs)
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
- Word Processing - สำหรับการพิมพ์งานต่าง ๆ
- Spreadsheet - ใช้ในการคำนวณ และลักษณะตาราง
- File manages and database management system – ชุดโปรแกรมในการจัดการแฟ้มข้อมูล
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการประมวลผลข้อมูลรายการ (Transaction Processing) - งานทางด้านธุรกิจ
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ(Analysis and decision making) - สนับสนุนการตัดสินใจ
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการวางแผนและการจัดการตารางงาน (Planning,coordinating,scheduling and organizing) - ด้านการวางแผน จัดการตาราง เช่น แผนงบประมาณ แผนการเงิน
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการผลิตรายงาน (Reporting) - สร้างรายงานประเภทต่าง ๆ
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการตรวจคำผิดของตัวอักษร (Writing) - ตัวตรวจสอบ แสดงข้อความ
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการ Presentation - การนำเสนองานในรูปต่าง ๆ
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสาร (Communicating) - การส่งผ่านข้อมูลถึงกัน หรือเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
- ซอฟต์แวร์ช่วยงานด้านการสอนและฝึกอบรม (Training) - ทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ระบบปฏิบัติการ (The Operating System) คือ โปรแกรมหลักที่ใช้ในการจัดการคำสั่งทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลักดังนี้
- จัดการเกี่ยวกับไฟล์
- จัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ Input/Output
- จัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำ
- จัดการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
- จัดการเกี่ยวกับลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำงานของผู้ใช้
องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ (Components of the Operating System)
- Supervisor - เป็นส่วนในการควบคุมกิจกรรมทุกอย่างที่ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ทำ
- Command-Language Translator - เป็นตัวเปลี่ยนความต้องการของผู้ใช้ให้เป็นการทำงานของ Operating System
- Input/Output Control System (IOCS) - เกี่ยวโยงกับระบบฮาร์ดแวร์
- Librarian - เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่จัดการกับข้อมูล โปรแกรม พื้นที่ว่างในแฟ้มข้อมูล
ระบบปฏิบัติการสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating Systems)
- MS-DOS - เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันในระยะแรก เป็นลักษณะคำสั่งโดยอักษร
- Macintosh System - ใช้รูปภาพเป็นสื่อ (GUI: Graphic User Interface) เป็นระบบปฏิบัติการเฉพาะ        
- OS/2 - หรือ Operating System 2 ใช้รูปภาพเป็นสื่อ แต่เป็น OS ที่มีขนาดใหญ่และใช้หน่วยความจำมาก
- Windows - เป็นระบบ GUI นิยมใช้ในปัจจุบัน สนับสนุนการใช้งานของผู้ใช้งานได้มากและสะดวก
- UNIX - เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานในเครื่องหลายแบบ ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
- Operating Systems for Pen-Based Computers - เป็นการเปลี่ยนลายเส้นอักษรของผู้ใช้โดยปากกาเฉพาะ
ระบบปฏิบัติการสำหรับข่ายงาน (Network Operating Systems)
เป็นการเชื่อมโยงเครื่องแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย หรือ LAN (Local Area Network) ลักษณะการใช้งานคือ
- ใช้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารถึงกันได้
- ใช้ข้อมูลร่วมกันได้
- ปฏิบัติงานบางอย่างร่วมกันได้
- ใช้อุปกรณ์ และทรัพยากรอื่น ๆ ร่วมกันได้
ระบบเครือข่ายจะต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
- มีแผ่นวงจรข่ายงาน (Network Interface Card)
- มีระบบปฏิบัติการข่ายงาน (Network Operating System)
- มีการจัดเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องและเหมาะสม
ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องขนาดใหญ่ (Operating Systems for Larger Systems)
                ลักษณะโดยทั่วไปที่จะต้องพบในระบบปฏิบัติการดังกล่าว
- Interleaving Techniques - การจัดการเกี่ยวกับการทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน เช่น
- Multiprogramming - เป็นขบวนการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานพร้อมกันมากกว่า 1 งาน หรือผู้ใช้งานมากกว่า 1 คนเข้าใช้คอมพิวเตอร์
- Multitasking - ความสามารถในการทำงานหลายอย่างของผู้ใช้คนเดียวในเวลาเดียวกัน
- Time-Sharing - เป็นเทคนิคที่ CPU จัดสรรเวลาให้กับผู้ใช้หลายคนที่ปริมาณที่เท่าเทียมกัน
- Foreground/Background Processing - เป็นการแบ่งหน่วยความจำหลักออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า Partition ให้หลายโปรแกรมเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำพร้อมๆ กันได้
- Virtual Memory - เป็นระบบการทำงานที่ใช้หน่วยความจำสำรองทำหน้าที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลแทนหน่วยความจำหลัก
- Multiprocessing - การทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน โดยมี CPU ตั้งแต่ 2 ตัวเชื่อมโยงการทำงาน

ซอฟต์แวร์ระบบอื่น ๆ
                ตัวแปลภาษา (Language Translator) ทำหน้าที่แปลภาษาโปรแกรมที่เขียนขึ้น ให้เป็นภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เครื่องเข้าใจ และทำงานได้
- Compilers - เป็นตัวแปลงโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่โปรแกรมนั้นจะ
ทำงานต่อ
- Interpreters - เป็นการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องในลักษณะที่แปลโปรแกรมในแต่ละบรรทัดและทำงานทันที
- Assemblers - ก่อนที่เครื่องจะใช้งานภาษาแอสเซมบลีได้ จะต้องแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ที่เรียกว่า Assemblers
                โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการช่วยงานต่าง ๆ เช่น การเตรียมแผ่นดิสก์เพื่อใช้งาน การสำเนาแฟ้มข้อมูล
โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Languages)
                เป็นภาษาที่เขียนเพื่อทำให้เครื่องทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
วิวัฒนาการและระดับของภาษาคอมพิวเตอร์
                ยุคที่ 1 – 2 ภาษาเครื่อง และภาษาระดับต่ำ (Low-Level Languages) ผู้เขียนต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
- Machine Language เป็นภาษาในยุคแรก เป็นรหัสเลขฐาน 2 สั่งให้เครื่องทำงานทันที
- Assembly Language เป็นภาษาที่ง่ายขึ้นกว่ายุคแรก จะเป็นอักษรย่อในการเขียนคำสั่ง
                ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง (High-Level Languages) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ซึ่งภาษาระดับต่ำและระดับสูง จะต้องมีตัวแปลภาษา (Translator) ช่วยในการแปลภาษา เช่น Assemble Cobol BASIC Pascal
                ยุคที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก (Very-High-Level Languages) เป็นภาษาโปรแกรมที่เข้าใจง่ายและใช้คำสั่งสั้น
เช่น RPG (Report Program Generator) , 4GL (Forth – Generation Language)
                ยุคที่ 5 ภาษายุคที่ 5 (Fifth Generation of Programming Language) มีลักษณะคือ
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Export Systems) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลความรู้และประสบการณ์ของผู้เชียวชาญ
- ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) ใช้ภาษามนุษย์ในการติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีปัญหาทางด้านการประมวลผลคำ และคำสั่งอยู่
- ภาษาเชิงวัตถุ (Object- Oriented Languages) เป็นการปฏิบัติการด้านความคิดเป็นการเปลี่ยนวิธีการพิจารณาการทำงานของมนุษย์จากเดิมที่เน้นด้านกระบวนการ ไปเน้นที่ตัววัตถุที่ถูกดำเนินการแทน
- ภาษาสำหรับประมวลผลแบบขนาน (Paralleled Processing Languages) ประกอบด้วยงานย่อย ๆ ซึ่งสามารถทำงานบนหน่วยประมวลผลกลาง ได้พร้อมกัน

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานที่สามารถจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices), หน่วยประมวลผล (Processor) และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)
            1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
                           1.1 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับชี้ตำแหน่ง ควบคุม และย้ายตำแหน่งบนจอภาพ
รวมทั้งสามารถเลือกภาพ หรือข้อความได้โดยการคลิกเมาส์

56838

1.2 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ประกอบไปด้วยตัวอักษร
ตัวเลข สัญลักษณ์ ช่องว่าง รวมไปถึงคีย์ลัดเพื่ออำนวยความสะดวก

56841
1.3 ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ลักษณะคล้ายกับ
ปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ปาล์มคอมพิวเตอร์ เครื่องพีดีเอ

56843
1.4 เครื่องสแกนเนอร์หรือสแกนภาพ (Image Scanners) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับ
สแกนภาพ หรือเอกสารต่าง ๆ โดยสแกนเนอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สแกนเนอร์แบบมือถือ และสแกนเนอร์แบบแท่นนอน

 5685556856
1.5 กล้องดิจิตอล (Digital Cameras) กล้องดิจิตอลมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้อง
ถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิล์ม สามารถเก็บบันทึกภาพได้จำนวนมาก สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ระยะเวลาในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังไม่มากเท่าที่ควร กล้องดิจิตอลสะดวกในการใช้งานจึงทำให้ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้กล้องดิจิตอลกัน มากขึ้น

56860
2. หน่วยประมวลผล (Processor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามาจากอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้นในการประมวลผลด้านกราฟิก จึงทำให้สิ่งที่แสดงผลออกมารวดเร็ว โดยซีพียูหรือโปรเซสเซอร์สามารถแบ่งตามสถาปัตยกรรมได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ แบบCISC และ ซีพียูแบบ RISC

2.1 ซีพียู CISC (Complex Instruction Set Computing) เป็นสถาปัตยกรรมที่
รวมชุดคำสั่งเพื่อสามารถใช้งานได้หลากหลาย ความสามารถในการประมวลผลในด้านกราฟิกอยู่ในระดับปานกลาง ถึงระดับดี แต่จะขึ้นอยู่กับซีพียู และหน่วยแสดงผล
2.2 ซีพียู RISC (Reduced Instruction Set Computer) เป็นสถาปัตกรรมที่มี
แนวความคิดตรงกันข้ามกับ CISC คือมีจำนวนชุดคำสั่งที่น้อยกว่าและจะมีจำนวนชุดคำสั่งที่เป็นคำสั่ง   พื้นฐาน และคำสั่งที่เรียกใช้ประจำซีพียู RISC มีการเพิ่มชุดคำสั่งเฉพาะงาน เช่น การทำงานด้านกราฟิก
                3. อุปกรณ์แสดงผล(Output devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลหลังจากผ่านการประมวลแล้ว เช่น
                                        3.1 จอภาพ (Monitor) จอภาพถือเป็นหน่วยแสดงผลที่ได้รับความนิยมที่สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวอักษร รูปภาพ และกราฟิก จอภาพมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น
                                                3.1.1 จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT Monitors) เป็นจอภาพที่รับสัญญาณแบบอนาลอก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผล เนื่องจากเป็นการใช้หลอดภาพจึงทำให้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ทำให้เกิดความร้อน จอภาพจะมีสารฟอสเฟอร์เคลือบอยู่ จอภาพแบบซีอาร์ทีจะสร้างโดยการยิงแสงอิเล็กตรอนไปยังด้านหลังของภาพที่มีสาร ฟอสฟอรัสเคลือบอยู่ จอภาพแบบซีอาร์ทีต้องมีการฉายแสงใหม่ทุกระยะ เรียกว่าการรีเฟรช

56861

                                              3.1.2 จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display: LCD Monitors) เป็นจอภาพที่ใช้วัตถุเหลวแทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง ทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ลักษณะจอแอลซีดีจะมีลักษณะแบนนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก และพีดีเอ แต่ในปัจจุบันก็มีการนำเอาจอแอลซีดีมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
56862